พระกริ่งจักรตรี พระกริ่ง72 พรรษาประชาภักดี ปี2547 เนื้อนวะโลหะ กทม.

1,500 ฿

มีสินค้า

รายละเอียดเพิ่มเติม

ชื่อเรียกหา :
พระกริ่งจักรตรี พระกริ่ง72 พรรษาประชาภักดี ปี2547 เนื้อนวะโลหะ
หมวดหมู่พระเครื่อง :
พระเครื่องทั่วไปทุกภาค
สถานะ :
ราคา :
1,500 บาท
ลงวันที่ :
2018-09-28 16:13
รายละเอียด :
พระกริ่งจักรตรี พระกริ่ง ๗๒พรรษา ประชาภักดี ปี ๒๕๔๗ เนื้อนวะโลหะ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงประทานนามพระกริ่งว่า” พระกริ่ง 72 พรรษาประชาภักดี ” และประทานนามพระบูชาว่า ” พระพุทธรัชมงคลประชานาถ ” มีความหมายว่า” พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชาทรงเป็นที่พึ่งของประชาชน ”

เป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดแก่ประชาชนชาวไทยแล้วว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ทรงแผ่พระมหากรุณาธิคุณเกื้อกูลบรรดาผู้ยากไร้โดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา

ในวโรกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา 12 สิงหามหาราชินีที่ผ่านมา นับเป็นมหามงคลสมัยอันประเสริฐยิ่งทางสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยประชาชนชาวไทยได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเฉิมพระเกียรติในวโรกาสสำคัญดังกล่าว สร้างพระกริ่ง พระพุทธรูปบูชา และพระสมเด็จนางพญา

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้มีความประสงค์เพื่อร่วมถวายความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยนำรายได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย เพื่อถวายพระราชกุศลในโครงการพรรพชา อุปสมบท พระภิกษุ สามเณร จำนวน 7,299 รูป/องค์ และสาธารณกุศลอื่นๆ และให้ประชาชนได้มีวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นอย่างถูกต้องสมบูรณ์แบบไว้สักการบูชา เป็นการร่วมกันจรรโลงและสืบทอดพระพุทธศาสนา

พิธีการจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการดำเนินโครงการฯมีการกำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธคุณพร้อมทั้งงดงามสมบูรณ์ตามยุคสมัย โดยกำหนดให้มีพิธีพุทธาภิเษกมวลสารชนวนโลหะที่ใช้ในการจัดสร้างวัตถุมงคลฯพิธีเททองและพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง

พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพิธีเนื้อผง การลงทองจารแผ่นพระยันต์ มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญ 15 วัด รวม 16 ครั้ง มวลสารที่ใช้ในการประกอบพิธีฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วยแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น นะปถมัง อย่างละ 14 แผ่น รวมทั้งมวลสารผงเถ้าธูปดินศักดิ์สิทธิ์ และผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราชที่พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงเวทวิทยาคมอธิฐานจิตลบผงมอบให้

พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมร่วมเขียนยันต์ลบผงผงอิทธิเจ ผงปถมัง และผงมหาราช เพื่อใช้เป็นชนวนในการสร้างพระนางพญา ส.ก. เนื้อผง อาทิ พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศน์ หลวงพ่อเที่ยง วัดระฆังโฆสิตาราม หลวงพ่อสุข วัดเขาตะเครา หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงปู่ทอง วัดจักรวรรดิ หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ หลวงพ่อไพโรจน์ วัดวังพงศ์ หลวงพ่อชาติ วัดหนองยายอ่อม หลวงปู่นนท์ วัดเหนือวน เป็นต้น

ทางด้านชนวนในการสร้าง พระเนื้อโลหะ พระกริ่งจักรตรี ได้พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมร่วมจารแผ่นยันต์ อาทิ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ วัดวังวิเวกการาม กาญจนบุรี ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่ หลวงพ่อพูล อัตตรักโข วัดไผ่ล้อม นครปฐม เป็นต้น

พิธีการจัดสร้าง

เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททองและพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง

พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด

##เดือนมกราคม 2547
ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร

##เดือนกุมภาพันธ์ 2547
ครั้งที่ 3 วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่ 4 วันเสาร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ครั้งที่ 5 วันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร

##เดือนมีนาคม 2547
ครั้งที่ 6 วันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 7 วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.

##เดือนเมษายน 2547
ครั้งที่ 9 วันเสาร์ ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์

##เดือนพฤษภาคม 2547
ครั้งที่ 11 วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 12 วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

##เดือนมิถุนายน 2547
ครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

##ครั้งที่ 15 พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ
คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททองและเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้วในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ในครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี

##ครั้งที่ 16 พิธีมหาพุทธาภิเษกกำหนดประกอบพิธีเมื่อการจัดสร้างวัตถุมงคฯ ทุกชนิดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะนำไปประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในราวเดือน มิถุนายน 2547 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯจะนำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ต่อไป สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างในครั้งนี้ นอกจากการลงแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น รวมทั้งนะปถมังอย่างละ 14 แผ่น แล้วยังได้ลงดวงประสูติ และดวงตรัสรู้ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น อีกทั้งยังได้นำชนวนโลหะจากโครงการสร้างพระสำคัญๆ มารวมในการสร้างวัตถุมงคลฯ ในครั้งนี้ด้วย

สำหรับมวลสารและชนวนโลหะที่จะนำมาสร้างพระกริ่งและพระเนื้อผงนั้น คณะกรรมการ ดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างดียิ่งจากพระคณะจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 รูปรวม 684 รูป ได้เมตตาอธิษฐานจิตและลงจารแผ่นโลหะรวมทั้งได้รับมวลสารผงเถ้าธูปและดินจากสังเวชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศอินเดีย เนปาล และสถานที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศจีน รวมทั้งชนวนโลหะจากการสร้างพระกริ่ง 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 ชนวนโลหะ จากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2535 และชนวนโลหะจากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2542

รายละเอียดร้านค้า
ชื่อ
พระอริยะอีสาน
ที่อยู่
68/1-2 ถนนประชาสโมสร
อเมือง จ. ขอนแก่น
โทร
081-8720355
064-3528958
รายละเอียดธนาคาร
ชื่อบัญชี
สุทิน  ศรีทอง
ธนาคาร
กรุงเทพ
สาขา
หน้าพิพิธภัณฑ์ขอนแก่น
เลขที่บัญชี
687-7-05143-0